ความท้าทายในการประยุกต์ใช้ Logistics 4.0
- ณัฐพล เลาหโชคบุญมา
- Jul 28, 2022
- 1 min read

ความท้าทายในยุค Industry 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทำให้เกิดวิธีการ “ใหม่” ของทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ของระบบโลจิสติกส์ ทั่วโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สื่อสารที่ก้าวล้ำมาพัฒนาและยกระดับมาตรฐานระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการจัดส่ง และสามารถบริหารจัดการทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำขึ้นตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานจนถึงจุดจำหน่ายสินค้าสู่ผู้อุปโภคบริโภคได้
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการสามารถใช้กระบวนการอัตโนมัติในการจัดการคลังสินค้า การใช้ระบบคลาวด์เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูล หรือใช้ทางเลือกที่เหมาะสมอื่นๆ ให้เกิดการใช้ประโยชน์สุงสุด โลจิสติกส์ จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจในความสำเร็จของอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อให้การจัดการด้านโลจิสติกส์ดำเนินไปอย่างราบรื่น และก่อเกิดประโยชน์สูงสุดคุ้มค่าการลงทุน ผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงสิ่งที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดกับความท้าทายในการประยุกต์ใช้ Logistics 4.0
1. การประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) ให้เกิดผลสำเร็จ
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้ส่งสินค้าและผู้บริหารจัดการโลจิสติกส์ต้องให้ความสนใจเพื่อนำไปสู่การใช้งาน Logistics 4.0 คือ การเปิดตัวของเทคโนโลยี IoT ซึ่งจะเป็นการเชื่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างชาญฉลาด ช่วยให้สามารถควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาในแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มผลกำไรให้บริษัทมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานลงและช่วยเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม
2. การขาดวิสัยทัศน์และการใช้ระบบเดิมๆ
เทคโนโลยีระดับสูงจะไม่สามารถช่วยอะไรได้หากปราศจากทัศนวิสัยสามารถมองทะลุถึงการเชื่อมต่อแต่ละจุดในห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมต่อผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไปยังจุดอื่น ๆ องค์กรที่ต้องการทำงานกับกรอบการทำงานโลจิสติกส์ 4.0 จึงควรวิเคราะห์ทุกแง่มุมของระบบไอทีเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละองค์ประกอบช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อและการมองเห็นทั่วทั้งเครือข่าย
3. การเชื่อมต่อกับระบบของคู่ค้า
ความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งของตัวบริษัทเองกับระบบไอทีของคู่ค้าเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริหาร workflow ที่มีประสิทธิภาพและทำให้การตัดสินใจเป็นไปในแบบเชิงรุกได้ แต่ก็ต้องทำให้แน่ใจระบบไอทีของทั้งสองฝั่งสามารถเข้ากันได้
4. การกำหนดตัวชี้วัด (Defining KPIs)
ต้องการปรับโครงสร้างการตัดสินใจที่มีการกระจายอำนาจมากขึ้น หรือจะพยายามเสนอมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าผ่านระบบดิจิทัลของบริษัท หรือแค่ต้องการสร้างห่วงโซ่อุปทานแบบลีนหรือแค่ต้องการให้เกิดความคล่องตัว ไม่ว่าเป้าหมายจะเป็นอะไร ก็ให้ระลึกว่ามันควรเป็นรูปธรรมและสามารถวัดและตรวจสอบได้เมื่อเวลาผ่านไป
5. ก้าวทันโลกาภิวัตน์
การเข้าสู่มาตรฐานโลจิสติกส์ 4.0 ในระดับโลกที่ไร้พรมแดนจะมองอะไรทุกอย่างให้ทะลุและสามารถทำให้การดำเนินงานสมบูรณ์แบบ ใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจเพื่อจะก้าวกระโดดให้พ้นอุปสรรคต่างๆ และเดินหน้าอย่างมั่นใจ


วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง มุ่งพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านวิชาชีพ ผู้เรียนมีสมรรถนะทางด้านวิชาชีพ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงในสถานประกอบการ หรือแม้แต่การประกอบอาชีพส่วนตัว ในขณะเดียวกันหลักสูตร ปวส. โลจิสติกส์ ที่โปลีระยอง หรือทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยก็ได้ อีกทั้งเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จบแล้วเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยในเครือได้เลย
ที่มาข้อมูล : https://www.asiafoodbeverage.com
Comments