top of page

7 Step เขียนแผนธุรกิจอย่างไร ให้ยอดพุ่ง กำไรเพิ่ม

  • Writer: ณัฐพล เลาหโชคบุญมา
    ณัฐพล เลาหโชคบุญมา
  • Aug 11, 2022
  • 1 min read

การเขียนแผนธุรกิจที่ดีต้องสามารถเพิ่มมูลค่า และดึงดูดแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจได้ เพราะแผนการเหล่านี้จะช่วยให้กิจการของคุณ สามารถอยู่รอดได้ในทุก ๆ สถานการณ์ “แผนธุรกิจ” คือ แนวทางที่จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่แนวคิด ที่มา วิธีการ และจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ และที่สำคัญหากคุณสามารถวางแผนธุรกิจได้ดี แถมยังนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการจัดหาเงินทุน หรือได้รับการอนุมัติจากผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอนในการเขียนทั้งหมด 7 ข้อดังนี้

1. แนวคิดหลักการทำธุรกิจ (Business Idea) คือ ส่วนที่เราจะใช้ในการนำเสนอ สร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจให้กับผู้บริโภค จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในแผนธุรกิจ เพราะข้อมูลส่วนนี้สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนสนใจในธุรกิจของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งประกอบด้วย ภาพรวมธุรกิจ โอกาสและการแข่งขัน เป้าหมาย กลยุทธ์ แผนการลงทุน ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

2. ความเป็นมาของธุรกิจ (Business Background) คือ การอธิบายถึงลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน และสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่อยู่รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส (Brand Analysis) คือ การนำแผนธุรกิจทั้งหมด มาวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้เรามองเห็นถึงปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของ SWOT Analysis

4. แผนการตลาด (Marketing Plan) คือ กลยุทธ์ในการทำการตลาด การสื่อสารการตลาด และวิธีการเข้าถึงลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะสรุปโดยใช้ส่วนผสมการตลาด (4P Marketing) ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้แหล่งเงินทุนมองเห็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความเป็นไปได้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และอยากร่วมลงทุนกับเรามากขึ้น

5. แผนการดำเนินงาน (Operation Plan) คือ การวางกำหนดการในการสร้างธุรกิจ ซึ่งแต่ละสถานประกอบการจะมีรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานต่างกันไป อย่างเช่นธุรกิจร้านอาหารอาจจะเพิ่มเติมในส่วนของตัวช่วยระบบการจัดการร้าน POS เข้ามาในขั้นตอนควบคุมวัตถุดิบและคลังสินค้าด้วยก็ได้ โดยขั้นตอนในการดำเนินหลัก ๆ จะประกอบด้วย แผนการผลิต แผนการควบคุมคุณภาพ แผนการบริหารพนักงาน แผนการควบคุมวัตถุดิบ แผนการจัดส่ง แผนการควบคุมคลังสินค้า แผนการบริการลูกค้า

6. แผนการเงิน (Financial Plan) เป็นส่วนที่สำคัญมากในการวางแผนธุรกิจ เพราะเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงสูง และหากวางแผนไม่ดีอาจจะทำให้ธุรกิจของคุณเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ ซึ่งส่วนนี้มีผลต่อการตัดสินใจของสถาบันบริการเงินทุนเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะมีข้อมูลดังนี้ แผนการเงินเพื่อการลงทุน แผนการประมาณรายได้ สถานะทางการเงินของบริษัท เช่น กำไรขาดทุน กระแสเงินสด การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน หรือที่เรียกว่า การพยากรณ์ยอดขาย ระยะเวลาการคืนทุน คำนวณจุดคุ้มทุน

7. แผนรับมือฉุกเฉิน (Emergency Plan) การวางแผนเพื่อแก้ไขสถานกาณ์ฉุกเฉิน เช่น ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ หรือการร้องเรียนจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่น การวางแผนรับมือปัญหาด้านเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19



จากแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจจะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอด และมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเป็นอย่างมาก สาขาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จนะคะ เรียนต่อปวช.ปวส. ที่ไหนดี เรียนอาชีวศึกษาในระยอง เรียนปรับวุฒิ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย มาพบกันที่โปลีเทคนิคระยองนะคะ


แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.wongnai.com/business-owners/how-to-writing-business-plan

Comments


Post: Blog2_Post

วิทยาลัยอาชีวศึกษา
โปลีเทคนิคระยอง

© 2024 by Poly Rayong. All rights reserved.

bottom of page